การทดลองยิงแผ่นทองคำบางๆของ Rutherford
- รายละเอียด
- หมวดหลัก: หน้าแรก
- หมวด: Content physics
- เผยแพร่เมื่อ: วันอาทิตย์, 19 เมษายน 2563 13:45
- ฮิต: 633
แบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ด หรือ แบบจำลองอะตอมแบบดาวเคราะห์
(lang-en|Rutherford model) คือแบบจำลอง[อะตอม]ที่คิดขึ้นโดย
[เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด] โดยแปลความจาก[การทดลองของไกเกอร์-มาร์สเดน]
ในปี ค.ศ. 1909 ซึ่งนำไปสู่การวิเคราะห์ปี 1911 ของรัทเทอร์ฟอร์ด ว่า
[แบบจำลองอะตอมของทอมสัน|แบบจำลองอะตอมแบบขนมปังลูกเกด]ของ
[เจ. เจ. ทอมสัน] นั้นไม่ถูกต้อง แบบจำลองใหม่ของรัทเทอร์ฟอร์ดสร้างขึ้นจาก
ผลลัพธ์จากการทดลอง มีคุณลักษณะใหม่คือมีประจุที่เกาะกลุ่มกันอย่างหนาแน่น
ตรงใจกลางภายในพื้นที่ขนาดเล็กมาก ๆ เมื่อเทียบกับส่วนที่เหลือของอะตอม
ซึ่งเป็นจุดที่รวมของ[มวลอะตอม]เกือบทั้งหมดเอาไว้ (นั่นคือบริเวณ[นิวเคลียสอะตอม)
![]() |
![]() |
![]() |
รูปแสดงการทดลองยิงแผ่นทองคำบางๆด้วยรังสีแอลฟาเพื่ออธิบายโครงสร้างอะตอมพบว่าอนุภาคแอลฟาจะเบนออกได้บ้างถ้าเป็น Thonso's atomic model แต่การที่อนุภาคแอลฟากระดอนออกเป็นมุมโต ๆ ได้รัทเทอร์ฟอร์ดจึงสรุปโครงสร้างอะตอมตามรูปด้านซ้าย |
โครงสร้างอิเล็กตรอนของอะตอม เขาแทบไม่ได้พูดถึงแบบจำลองอะตอม
ก่อนหน้านี้ที่บอกถึงอิเล็กตรอนวิ่งวนรอบนิวเคลียสในลักษณะเหมือนดาวเคราะห์โคจร
รอบดวงอาทิตย์ หรือวงแหวนรอบดาวเคราะห์ (เช่นดาวเสาร์) ความสนใจหลักของ
รัทเทอร์ฟอร์ดมุ่งไปที่มวลส่วนใหญ่ของอะตอมซึ่งอยู่ในแกนกลางที่เล็กมาก ๆ ทำให้
มองเห็นภาพแบบจำลองแบบดาวเคราะห์ได้ชัดเจนกว่าที่เคยเป็นมา เช่น แกนกลาง
เป็นพื้นที่บรรจุมวลส่วนใหญ่ของอะตอม ในลักษณะเดียวกับที่[ดวงอาทิตย์]เป็นมวล
ส่วนใหญ่ของ[ระบบสุริยะ] ในภายหลังแบบจำลองรัทเทอร์ฟอร์ดได้รับการ[แบบจำลอง
ของบอร์|ปรับแก้ให้ถูกต้องยิ่งขึ้น]โดย[นีลส์ บอร์]